ตอบ - กฎหมาย คือ ข้อบังคับ กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม และถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว ต้องมีผลการบังคับใช้ได้ตลอดไป ยาวนานกี่ปีก็มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก
- การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่า การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน ซึ่งว่าด้วยบุคคลย่อมมีความเสมอภาคที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองตาม กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ใบประกอบวิชาชีพถือเป็นสิ่งสำคัญในการรับรองตัวบุคคลกรทางการศึกษาในการมีคุณสมบัติที่เหมาะต่อการประกอบอาชีพ และต้องมีจรรยาบรรณและ ต้องมีความรับผิดชอบต่ออาชีพ ฉะนั้นดิฉันคิดว่าผู้ที่เป็นห้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชนจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพทุกคน
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษา ตามความเปลี่ยนแปลงของทุกส่วนในสังคม การกระจายอำนาจให้กับสถานศึกษาในด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการบริหารทั่วไป ตลอดจนการให้ทุกส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ประกอบกับงบประมาณที่รัฐสนับสนุน การจัดการศึกษามีไม่เพียงพอ สถานศึกษาจึงต้องมีการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อจัดการศึกษาที่มี่คุณภาพให้กับทุกคน ซึ่งสถานศึกษาจะพิจารณาเฉพาะงบประมาณ การเงินและทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะจะเป็นการมองเพียงด้านเงินเพียงด้านเดียว สถานศึกษาควรพิจารณาถึง คน วัสดุ และการบริหารจัดการด้วย เช่น การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา การรวบรวมและใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ - การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
- การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ แตกต่างกัน เพราะ การศึกษาภาคบังคับเป็นการศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่9 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่3 )ของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่รัฐต้องจัดให้ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เป็นช่วงเวลา 12 ปี โดยตั้งแต่การศึกษาชั้นประถม 1 ถึงมัธยมศึกษา 6 หรือเทียบเท่า
ตอบ การแบ่งส่วนราชการจะแบ่งภายในส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการดังกล่าว โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1 สำนักงานรัฐมนตรี
2 สำนักงานปลัดกระทรวง
3 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตอบ พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ถูกประกาศให้ใช้เพราะ ต้องการปรับ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษามีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ผิดตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 หากมีข้อยกเว้นอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
-ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2 - ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3 -นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
-ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
- ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
-คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
- ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
-บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ตอบ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสิ่งที่ บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งพระราชบัญญัติให้รับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ต้องปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษทางวินัยซึ่งมี 5 สถาน คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
ผู้ใดถูกลงโทษด้วยการปลดออก ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าเป็นผู้ลาออกจากราชการ
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะ ยังต้องอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ ดูแลจากผู้ปกครอง
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้อื่นหรืออยู่ตามลำพัง
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหายได้
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ที่เป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น