ค้นหาบล็อกนี้

1/23/2556

กิจกรรมที่ 7 ให้นักศึกษาอ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและตอบคำถามต่อไปนี้




1. มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
            ตอบให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
ตอบเด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

เด็กเร่ร่อน หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน

เด็กกำพร้า หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

เด็กพิการ หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง

         “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

นักเรียน หมายความว่า เด็กซึ่งกำ ลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน

นักศึกษา หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน

บิดามารดา หมายความว่า บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่

ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย

ครอบครัวอุปถัมภ์ หมายความว่า บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร

การเลี้ยงดูโดยมิชอบ หมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน หรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

สืบเสาะและพินิจ หมายความว่า การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฎหมายและหลักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น

สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน

สถานแรกรับ หมายความว่า สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย

          “สถานสงเคราะห์ หมายความว่า สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป

สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หมายความว่า สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ


3. คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน

   ตอบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมายแพทย์ ไม่น้อยกว่าเจ็ดปีวิชาชีพละสองคน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านสวัสดิการเด็กมาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีอีกสองคน โดยมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม คณะกรรมการจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้

 4. กรรมผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้าง

      ตอบมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

มาตรา ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการ

ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ

(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๖) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๗) ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร


5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้

   ตอบการปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมการกระทำใดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก หรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเด็กหรือไม่ ให้พิจารณาตามแนวทางที่กำหนดในกฎกระทรวง

6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง

       ตอบผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นต่อไปนี้

            (๑) ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้าง เลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน

(๒) ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม

(๓) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

(๔) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก

(๕) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ


7. ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง

      ตอบภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้

(๑) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

(๒) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่ อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด

(๔) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว

(๕) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก

(๖) ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผล กระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก

(๗) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก

(๘) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า

(๙) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด

(๑๐) จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งมีโทษตามกฎหมายอื่นที่หนักกว่าก็ให้ลงโทษตามกฎหมายนั้น


8. เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์

      ตอบเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ ได้แก่

(๑) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า

(๒) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง

(๓) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท

(๔) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อ พัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล

(๕) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทาง ศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

(๖) เด็กพิการ

(๗) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก

(๘) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


9. เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ

        ตอบเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ได้แก่

(๑) เด็กที่ถูกทารุณกรรม

(๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

(๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


10.ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวืิธีการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไร

  ตอบต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสมความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดและมีอำนาจนำตัว ไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น เพื่อดำเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ ในกรณีที่ไม่สามารถนำตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้เมื่อได้อบรมสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนหรือ สั่งสอนเด็กอีกชั้นหนึ่ง

 11. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็นอะไรบ้าง มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง

  ตอบมาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๕) หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป

มาตรา ๘๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘๒ ผู้ใดจัดตั้งหรือดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูตามมาตรา ๕๒ โดยมิได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอนหรือหมดอายุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ยื่นคำขออนุญาตหรือยื่นคำขอต่อใบ อนุญาตภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป

มาตรา ๘๓ เจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ดำเนินการแก้ไขหรือปฏิบัติตามคำแนะ นำของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ แล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป

มาตรา ๘๔ ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟูโดยมิได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘๕ ผู้ใดกระทำการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุนให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา ๖๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘๖ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กิจกรรมที่ 6 ให้นักศึกษาอ่านรายละเอียดของ พรบ.เงินเดือนเงินวิทยะฐานฯ แล้วตอบคำถาม



1.พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใด 
           
         ตอบฉบับแรก 22 ธันวาคม 2547
   ฉบับที่ 2 วันที่ 30 มีนาคม 2554

2. ตาม พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยะฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554ข้อใด ไม่ใช่เงินเดือน

        ตอบ   เงินวิทยะฐานะ และเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน


3.คณะรัฐมนตรีสามารถออก พระราชกฤษฎีกา เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไร
       
         ตอบ   ไม่เกินร้อนละ 10


4.ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู  ค.ศ.และรับเงินเดือนเท่าไร

ตอบ    การบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนคือ
           ขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท
          ขั้นต่ำ         8,700 บาท
          ขั้นสูง         16,840 บาท
          และเมื่อได้รับครบกำหนด 2 ปี จึงจะได้แต่งตั้งเป็นครู ค.ศ.    1   และได้รับ   เงินเดือน
          ขั้นต่ำชั่วคราว 8,130 บาท
          ขั้นต่ำ         11,930 บาท
          ขั้นสูง         29,700 บาท

กิจกรรมที่ 5 ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา แล้วตอบคำถามให้นักศึกษาตอบคำถามดังนี้

          1.  พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด                                                                                                    ตอบ วันที่25 พฤษภาคม 2546
2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง 
ตอบ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตาม
พระราชบัญญัตินี้
ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอน
และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และ
อุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหาร
สถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และ
อุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหาร
นอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
บุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุน
การศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ
และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้
ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง 
ตอบ มาตรา ๘ คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
(กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
(ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
ตอบ มาตรา ๙ คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
(พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรจาบรรณของวิชาชีพ
(ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
(รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(๑๐เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
(๑๑ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย
(การกำหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
(การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(มาตรฐานวิชาชีพ
(วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
(หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(การใดๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๑๒ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
(๑๓ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพหรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
(๑๔กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
(๑๕ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภาข้อบังคับของคุรุสภาตาม(๑๑นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้คุรุสภามีอำนาจกระทำกิจการต่างๆภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ด้วย
(ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สินหรือดำเนินการใดๆ
เกี่ยวกับทรัพย์สินตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ
(กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
(สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
ตอบ มาตรา ๑๐ คุรุสภาอาจมีรายได้ ดังนี้
(ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
(เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
(เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
(ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม () () (และ ()
รายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษีอากร
มาตรา ๑๑ ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามประกาศของรัฐมนตรี ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน 
ตอบ มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียว่า คณะกรรมการคุรุสภาประกอบด้วย
(ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฎหมาย
(กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา การอาชีวศึกษา การศึกษาพิเศษ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกฎหมายด้านละหนึ่งคน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่าสามคน
(กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งเลือกกันเองจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวนสามคน และจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวนหนึ่งคน
(กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนสิบเก้าคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และมาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วนจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นเลขานุการ
7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย 
ตอบ มาตรา ๑๔ นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ กรรมการที่มาจากผู้ประกอบ
วิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
(เป็นผู้มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
(เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่าสิบปีหรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๓ หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการขึ้นไป                                                                                                 มาตรา ๑๕ นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตามมาตรา ๑๔ (และต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น รวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี
8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
ตอบมาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา ๕๔
(เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
(แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
(ควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาในเรื่องดังต่อไปนี้
(การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและขอบเขตหน้าที่ของ
ส่วนงานดังกล่าว
(การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และ
ค่าตอบแทนอื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
(การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทาง
วินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการ
เงื่อนไขในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
(การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
(กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
(กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
(ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
(พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ 
ตอบ มาตรา ๒๑ ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย 14 คน
(ประธานกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคุรุสภา
(กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา การบริหาร และกฎหมาย
(กรรมการจากคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนที่มีการสอนระดับปริญญาในสาขาวิชาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษาซึ่งเลือกกันเองจำนวนสองคน
(กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนหกคน ซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนไม่น้อยกว่าสิบปี หรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๓ หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการขึ้นไป ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปี ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปี และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปีให้เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการการกำหนดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอื่น ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๒๕ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
(กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
(ส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
(แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย
ให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเสนอรายงานการดำเนินงานประจำปีต่อ
10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
ตอบ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบห้าปี
11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ (ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชนองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
ตอบ(คุณสมบัติ
(มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
(ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(ลักษณะต้องห้าม
(เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร 
ตอบ ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ต่อใบอนุญาต หรือการไม่ออกใบแทนใบอนุญาตไม่ตัดสิทธิผู้ขอที่จะประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าคณะกรรมการคุรุสภาจะได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด
14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
ตอบ มาตรา ๔๙ ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
(มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
(มาตรฐานการปฏิบัติงาน
(มาตรฐานการปฏิบัติตน
15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
ตอบ มาตรา ๕๐ มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วย
(จรรยาบรรณต่อตนเอง
(จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(จรรยาบรรณต่อสังคม
การกำหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
ตอบ มาตรา ๕๔ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ยกข้อกล่าวหา
(ตักเตือน
(ภาคทัณฑ์
(พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินห้าปี
(เพิกถอนใบอนุญาต
17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
ตอบ มาตรา ๕๘ สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภท ดังนี้
(สมาชิกสามัญ
(สมาชิกกิตติมศักดิ์
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
ตอบ มาตรา ๖๑ สมาชิกภาพของสมาชิกย่อมสิ้นสุดเมื่อ (ตาย (ลาออก
(คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตาม
มาตรา ๕๙ สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
(คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
(ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
ตอบคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน 
ตอบ มี 22 คน ประกอบด้วย
มาตรา ๖๔ ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ประกอบด้วย
(ปลัดกระทวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
(กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านสวัสดิการสังคม บริหารธุรกิจ และกฎหมายด้านละหนึ่งคน
(กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จำนวนสิบสองคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร 
ตอบ มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ
ไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ตอบ มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546คือ ใคร
ตอบ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี)
24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ตอบ อัตราค่าธรรมเนียม
(ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๖๐๐ บาท
(ค่าต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครั้งละ ๒๐๐ บาท
(ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๓๐๐ บาท
(ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๔๐๐ บาท
(ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๒๐๐ บาท